ทะลึ่ง?
ไม่เลย…
เมื่อหลายปีก่อน ราวสิบปีหรือกว่านั้น ผมเริ่มบันทึกงานเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยและประสบการณ์ของผมในประเทศนี้ การทดสอบในตอนนั้นถูกตั้งชื่อว่า “ยี่สิบคำถาม” แล้วผมก็นึกภาพตามว่าผมจะต้องพิมพ์รวมเล่มเมื่อเขียนได้ถึงยี่สิบตอนหรือกว่านั้น ชื่อหนังสือจะต้องเกี่ยวเนื่องกับอะไรที่หลายคนชอบถามผมตอนมาถึงเมืองไทยใหม่ๆในปี 1986 ตอนมาถึงใหม่ๆ ผมถูกเผาซะเกรียม ไม่มีคำถามใดที่ถือว่าล่วงล้ำหรือหยาบคายถ้าพวกเขาอยากจะรู้ สำหรับคนที่อยู่มานาน พวกเขารู้วิธีรับมือกับคำถามเหล่านั้น แต่สำหรับผมซึ่งเป็นมือใหม่ในขณะนั้นถือว่าหนักหนาสาหัสเอาการ ดังนั้นผมจึงหาวิธีจัดการกับมนุษย์เจ้าคำถาม ด้วยการรวบรวมคำถามยี่สิบข้อที่ถูกถามบ่อยไว้ในบทบันทึกของผมเสียเลย ดูจากบริบทนั้นแล้ว ผมต้องสารภาพหลายข้อก็ตกยุคไปเสียแล้ว ในขณะที่บางอย่างก็ยังใช้ได้อยู่หรือปรับเปลี่ยนไปบ้าง สิ่งที่คุณกำลังจะได้เริ่มต้นอ่านต่อไปนี้ เป็นบทที่ปรับแล้วจากเวอร์ชั่นดั้งเดิมในยุคนั้น
ล้อเลียนที่ไม่เป็นภัย
แต่ก่อนที่ผมจะเริ่มเขียนเรื่องเหล่านั้นและสังเกตการณ์ บางทีผมควรให้ไอเดียคร่าวๆกับคุณก่อนว่าการแสดงความเห็นแบบไหนที่ผมต้องเจอ และคำถามประเภทไหนที่คนไทยชอบถามบ่อยๆ (และแม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังถูกถามอยู่ดี ตามที่เพื่อนผมเล่าให้ฟัง) การถูกทักแบบไทยๆด้วยคำถามหรือการตั้งข้อสังเกต “คุณดูอ้วนขึ้นนะ” หรือ “ทรงผมใหม่ไม่เหมาะกับหน้าคุณเลย” นั่นปกติมากที่จะคาดว่าคนฟังจะไม่มีปฎิกิริยาอะไรตามมา ไม่มีการแจ้งหมิ่นประมาทหรือถูกด่ากลับ มันเป็นวิถีปกติของวัฒนธรรมไทย เพื่อนสนิทของผมคนหนึ่งเขียนถึงผม “เมื่อใดที่ทั้งสองฝ่ายเป็นอันเข้าใจมุกตลกร้าย ความตลกที่ไม่ได้เป็นพิษเป็นภัย และเย้ยหยันยิ่งกว่านั้นคือ “ไม่ได้ว่าอะไรนะ” หมายถึง “อย่าคิดมากนะ บ้าสิ” คนต่างชาติอย่างผมนั้นย่อมใช้เวลาสักพักกว่าจะเข้าใจและเคยชิน แต่แม้ว่าผมเข้าใจและเคยชินกับวิธีการพูดแบบไทยๆ ยังมีอีกหลายต่อหลายบริบทคำหรือวิถีไทยที่ผมไม่กล้าพอที่จะเอามาใช้เพราะมันไม่เหมาะสำหรับชาวต่างชาติที่จะพูดแบบนั้น
ทานอาหารค่ำกับลูกพีชและลูกแพร์ที่บ้านม้า
มีอะไรบางอย่างอีกที่หลายคนต้องคุ้นกับมันดี รวมถึงผม นั่นคือการใช้ชื่อเล่น ผมแทบจะจำชื่อจริงของหลายคนไม่ได้ด้วยซ้ำ ((ซึ่งบางครั้งก็ไม่ดีสำหรับผม) แต่การใช้ชื่อเล่นอย่างแพร่หลายนั้นหมายถึงคุณได้รู้จักคนเหล่านั้นด้วยชื่อแทนตัว ดังนั้นแทนที่จะมาจดจำชื่อจริงเช่น พัฒนพงษ์ หรือ ฐปนงศ์ หรืออะไรที่คล้ายกัน หรืออะไรที่ยากยิ่งกว่า มันจะง่ายกว่านั้นมากที่จะจำแค่ชื่อเล่นเช่น นุ่ม แก้ว หรืออื่นๆ แน่นอนมันเป็นวัฒนธรรมที่แปลกและทำให้คนสับสนไปชั่วขณะ และอึ้งๆเมื่อแปลความหมายคำของชื่อพวกนั้นกลับไปเป็นภาษาอังกฤษ แต่ด้วยคำถามเหล่านั้นและการสังเกต ไม่มีิอะไรเลวร้ายนักหรอก สุดท้ายวัฒนธรรมของภาษาก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารอยู่ดี ผมจดบันทึกรายละเอียดและการแยกแยะข้อแตกต่างเหล่านั้น เพราะบางครั้งคุณอาจเลิกคิ้วเมื่อใครบางคนแนะนำตัวเองว่า “หนุ่ม” ซึ่งความหมายภาษาอังกฤษคือ “ชายหนุ่มวัยกระเตาะ” และใช่ เจ้าของชื่อนั่นแน่นอนว่าอายุปาเข้าไปสี่สิบกว่าแล้ว ยังมีบทสนทนาอื่นๆที่ได้ยินมาที่ทำให้ถึงกับต้องเลิกคิ้วอีกหลายรอบและแทบจะต้องกัดริมฝีปากกลั้นหัวเราะอย่างมากกันเลยทีเดียวเมื่อได้ยินชื่ออื่นอีกชื่อสองชื่อ นี่คือบทสนทนาที่ผ่านมาไม่นานนัก “สวัสดีฮะอ้วน พี่ช้างเป็นยังไงบ้าง สรุปคุณสองคนเจอกบเมื่อวันหยุดที่ผ่านมาแล้วไปบ้านพักตากอากาศของหมีกันหรือเปล่า” “เปล่า แต่ผมได้เจอกับแตงโม แล้วพวกเราก็ไปสมทบกับแพร์และพีชแล้วก็ไปดูหนังกันที่บ้านม้าก่อนไปกินข้าวเย็นกับดำและหมู”
คำถามที่น่าอึดอัดใจ – เรียนรู้ที่จะจัดการกับมัน
คำถามที่คุณอาจไม่เคยคิดฝันว่าจะถามใครในทวีปอเมริการวมถึงบททดสอบเช่น “คุณได้เงินเดือนเท่าไหร่” และคำถามนี้ก็ไม่ได้ถูกถามเพียงครั้งเดียว แต่ซ้ำๆอย่างน้อยหนึ่งหรือสองครั้ง และแต่ละครั้งก็จะต่างกันไป “สงสัยเงินเดือนต้องเยอะแน่ๆ ถ้าสามารถซื้อรถใหม่ได้” “มันไม่ได้แพงอะไรนัก หรือว่าเงินเดือนคุณสูงมากพอที่จะผ่อนได้โดยไม่เดือดร้อน” ในแนวๆเดียวกัน การถามเรื่องอายุกลับไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไรเลย แต่กลับเป็นเรื่องจำเป็นมากด้วยซ้ำที่จะระบุสถานะทางสังคม ที่จะแสดงให้เห็นถึงความสูงกว่า เตรียมตัวได้เลยกับคำถาม “คุณอายุเท่าไรน่ะ” หรืออีกแบบ “เกิดปีอะไรน่ะ” และ “เกิดปีนักขัตรอะไร” ความจำเป็นในที่นี้คือเพืื่อจะได้ทราบว่าคุณอายุมากกว่าหรือน้อยกว่า เมื่อคุณอายุมากกว่า แม้ว่าจะแค่วันสองวัน คุณก็ได้กลายเป็นพี่ชายหรือพี่สาวโดยปริยาย ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเคารพนับถือ และรวมถึงการแสดงความรับผิดชอบต่อการจ่ายค่าอาหารในกลุ่มเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน กับความคิดว่าถ้าคุณแก่กว่าคุณก็ต้องมีฐานะดีกว่า และต้องจ่ายมากกว่า ในทางกลับกัน ถ้าคุณอายุน้อยกว่า คุณก็กลายเป็นน้อง และก็ต้องยอมอยู่ใต้อาณัติผู้ที่อาวุโสกว่า แต่ข้อดีคือเวลาไปกินอะไรกัน คุณก็ถูกเลี้ยงประจำเตรียมพร้อมที่จะเรียกคนอื่นให้แก่กว่าไว้ เพื่อจะได้กินอาหารฟรีตลอดชาติ
เมื่อเรื่องผ่านไปในหลายเดือนถัดไปผมจะพูดถึงคำถามอีกอย่างแน่นอน ผมต้องมีเนื้อหาอย่างเข้มข้นที่จะสรรหามาเล่าอีก รวมถึงเรื่องราววงในของวิถีคนไทย ถ้าไม่มีอะไรอื่นๆอีกคุณก็อย่างน้อยได้เรียนรู้ที่จะกัดลิ้น ยิ้ม แล้วก็ตอบออกไปซึ่งจะตรงหรือใกล้เคียงกับความจริงนั้นหรือเปล่าก็ไม่อาจทราบได้ และหวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ยอดเงินในบัญชีของคุณไม่ถูกนำมาเป็นเรื่องเม้าท์มอยด์ในวงนินทา