เลือกความเงียบเหนือทางออกอย่างรวดเร็ว … จากชีวิต
ผมยกคำถามต่างๆมากมายที่คุณจะพบในประเทศไทยมาพูดถึงในบล็อกก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับการเรียนรู้การปรับตัวในการอยู่เมืองไทย และแน่นอนความคิดที่จะเขียนหนังสือ ที่ใช้ชื่อว่า “20 คำถาม” มันมีอะไรมากกว่าพวกคำถามพื้นฐาน ที่ผู้มาเยือนเมืองไทยครั้งแรกควรต้องรู้ และความจริงมันก็มีอะไรที่โหดมากกว่า ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และในบางครั้งยังต้องอาศัยความอดทน เพื่อปรับตัวกับสถานการณ์และความเป็นไป มีทั้งสิ่งที่ต้องปฏิบัติและวิถีสังคม ที่ผมได้เขียนครอบคลุมไว้ รองเท้าและเท้า อาหารที่วางบนพื้น การไหว้ ภาษา ภาพยนตร์เห่ยๆ เหล้าถูกๆ การทำงาน สุดสัปดาห์และวันหยุด ชายทะเล การจับมือทักทายและการแตะต้องตัวในรูปแบบอื่นๆ การต้อนรับแขกผู้มาเยือน เรี่องราวเกี่ยวกับภูติผี การเดินทางท่องเที่ยวบนหลังมอเตอร์ไซต์ และฝูงวัว แต่มันมีอะไรนอกเหนือกว่านั้นที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นส่วนตัว
หลังจากเรียนรู้มากขึ้นมาปีกว่า วันหนึ่งจู่ๆผมก็พูดถึงการยกมือโหวต ในการประชุมสำคัญของกลุ่มผู้ถือหุ้น มันจะเป็นวิธีที่ง่ายมากที่จะข่มขู่คน เพราะคุณสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเข้าลงคะแนนให้ใครแทนที่จะโหวตกันลับๆ แต่แล้วพรายกระซิบก็เตือนผมให้ปิดปากและอย่ามีความเห็นอะไร ซึ่งเป็นคำแนะนำที่ดี เพราะผมได้ยินมาว่าใครคนหนึ่งที่อยู่อีกภาคที่ยกประเด็นนี้มาพูด เขาต้องออกจากงานภายในชั่วโมงนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของเขาเอง และคนอื่นๆก็ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์นั้น บ่อยครั้งที่ผมเลือกที่จะออกไปอย่างเงียบๆ แทนที่จะถูกช่วยให้ออกจากชีวิตอย่างถาวร ตัดสินใจได้อย่างง่ายดาย เพราะตัวเลือกมันดูสมเหตุสมผลมากต่อคุณภาพชีวิตของผม
ความเป็นส่วนตัวไม่มี
นอกจากนี้แล้วยังมีหัวข้ออื่นๆเกี่ยวกับพื้นที่ส่วนตัวหรือการเคารพความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับ ในหลายสถานการณ์และโอกาส ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับคุณไม่ต่างจากหน้าหนังสือที่เปิดค้างไว้ให้ทุกคนได้อ่านอย่างหมดเปลือก จุดนี้หมายถึงความเป็นส่วนตัว ผมได้เรียนรู้การวางตนที่ควรในที่ประชุมที่จัดขึ้น หกเดือนหลังจากที่ผมเดินทางมาประเทศไทย เรามีโอกาสกลับมาเมืองชายทะเลกับช่วงเวลาที่สวยงาม ชีวิตช่างรื่นรมย์ ทะเล เม็ดทราย แสงแดด เบียร์สักขวดสองขวด บทสนทนาดีๆ การแวกว่ายในทะเล และอื่นๆ วันหนึ่งขณะที่กำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ชายหาด ผมลุกขึ้นเพื่อไปเข้าห้องน้ำ และวางกระเป๋าสตางค์ทิ้งไว้บนโต๊ะ พลาดมาก เพราะในขณะที่ผมกำลังเดินกลับมาที่โต๊ะ ผมสามารถมองเห็นได้จากระยะไกลว่าใครคนหนึ่งกำลังเปิดกระเป๋าสตางค์ของผม และดึงบัตรประชาชนและอะไรต่อมิอะไรในนั้นออกมาให้คนอื่นๆ ในกลุ่มดู พวกเขาเกาะกลุ่มสำรวจและหัวเราะรูปติดบัตรของผม แน่นอนมันไม่ใช่รูปที่ดีนักของเด็กหนุ่มผมยาววัยสิบห้าที่ผอมกระหร่อง เมื่อผมเดินกลับไป ทุกสิ่งก็รีบถูกยัดกลับลงไปในกระเป๋าสตางค์แล้วโยนไว้บนโต๊ะตามเดิม และดูเหมือนไม่มีใครละอายกับพฤติกรรมของพวกเขาเลย ผมไม่พอใจมากและช็อคมากอีกเช่นกันเมื่อใครคนหนึ่งเอ่ยขึ้นมาว่า
“ทำตัวให้ชินซะ ไม่มีหรอกความเป็นส่วนตัวในประเทศนี้ แล้วมันก็จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่ใครสักคนจะเปิดกระเป๋าสตางค์ของคุณ”
ขอบคุณสำหรับการเตือน และพวกเขาก็พูดถูก ผมไม่มีทางจะเก็บอะไรที่จะทำให้ผมตกที่นั่งลำบากไว้ในกระเป๋าสตางค์ของผมอีก ไม่มีทางเสียล่ะที่ความลับของผมจะถูกเปิดเผยให้ใครได้สืบค้น ทุกอย่างปลอดเชื้อตั้งแต่นั้น หรืออย่างน้อยผมก็หวังเช่นนั้น ความเป็นส่วนตัวไม่ใช่สิ่งที่การันตีความปลอดภัย และยังมีความกระหายอยากรู้อีกมากมาย ด้วยวิธีอื่นๆที่จะสืบค้นข้อมูลเพื่อนำมาล้อเลียน ดังนั้น ทำตัวให้พร้อมกับทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือไม่ก็เตรียมเรื่องดีๆที่ไม่มีช่องโหว่เพื่อนำมาปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณไว้ซะ
แคนาดาอยู่ในยุโรปใช่มั้ย
คำถามยังสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่น่าสรวลและเกินความฝัน แต่ผู้มาเยือนที่ดีย่อมเรียนรู้ที่จะยิ้มตอบแทนการหัวเราะออกมาสุดเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นอายหน้าแตกและไม่ควรทำอย่างยิ่ง คำถามแรกๆที่คุณจะถูกถามคือ “คุณมาจากไหน” ในสถานการณ์นี้มันไม่ได้หมายถึงสถานที่ที่คุณเพิ่งจากมา แม้ว่าคำถามจะถูกตีความในลักษณะเดียวกัน ในภาษาไทยคุณอาจนึกว่ามันคือสิ่งที่เขาถาม และการตอบท่ื่อๆ เช่น “เพิ่งไปตลาดมา” อาจไม่ใช่คำตอบที่เขาอยากได้ยิน สิ่งที่เขาต้องการถามจริงๆคือคุณมาจากประเทศอะไร ถึงแม้ว่าคำตอบท่ื่อๆอาจจะช่วยซื้อเวลาสักสองสามวินาทีให้คุณได้คิดหาคำตอบที่สมควร บทสนทนาที่ผมถูกถามบ่อยๆจากคนไทยหลายคนในประเทศนี้มักจะเป็นไปตามนี้
“คุณมาจากไหน”
“แคนาดาครับ”
“อ้อ มันอยู่ในยุโรปใช่มั้ย ไกลจากประเทศอังกฤษและเยอรมันแค่ไหนรึ”
“เอ่อ มันไม่ได้อยู่ในทวีปยุโรปเสียทีเดียว ประมาณว่าอยู่ทางทิศตะวันตกของยุโรป ห่างกันราวสี่พันไมล์จากทางตะวันของยุโรปน่ะครับ แต่ก็คือยังใกล้ยุโรป เหมือนเวลาคุณเปรียบระยะห่างระหว่างประเทศไทยกับยุโรปกับแคนาดากับยุโรปน่ะครับ”
“อ้อ ถ้างั้นคุณก็ขับรถไปเยอรมันได้สิ ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่”
“อืม มันค่อนข้างยากที่จะขับรถจากแคนาดาไปเยอรมัน ถึงแม้ว่าผมเคยได้ยินมาว่า มีบริษัทหนึ่งวางแผนจะสร้างอุโมงค์พิเศษหรืออะไรประมาณนั้น แต่ตอนนี้ผมว่านั่งเรือหรือเครื่องบินไปน่าจะดีกว่าและเร็วกว่า (ผมพยายามตอบให้น่าฟัง)
“แต่ที่โน่นมีหิมะตลอดเวลาไม่ใช่รึ มันคงหนาวยะเยือกตลอดเลยสินะ”
ชั่วขณะที่ผมนึกว่ากำลังคุยกับชาวอเมริกันอยู่ แต่แล้วก็ตระหนักได้ว่าผมยังอยู่ในประเทศไทย และกำลังคุยอยู่กับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง
“อืม มันก็ใช่ครับ ที่โน่นอากาศเย็น และบางครั้งก็อุณหภูมิต่ำกว่าสี่สิบองศาฟาเรนต์ไฮน์เสียอีก แล้วก็ใช่อีกเช่นกันที่เรามีหิมะ แต่ถ้าคุณชอบพื้นที่แข็งเยือกและหิมะตลอดทั้งปี คุณต้องเดินทางไกลขึ้นไปถึงทางตอนเหนือของประเทศ ส่วนแถบที่ผมมา ช่วงหน้าร้อนก็ร้อนเอาการทีเดียว และบางพื้นที่ในแคนาดาอุณหภูมิร้อนถึงสี่สิบองศาเซลเซียสไม่ต่างจากที่นี่เลยครับ”
“อ้อ เข้าใจละ ถ้าอย่างงั้นแล้วคุณอยู่ที่รัฐไหนรึ”
“อะไรนะครับ รัฐรึ ไม่ครับไม่ คุณต้องเข้าใจก่อนนะว่าแคนาดาก็ไม่ต่างจากประเทศไทย มีนายกรัฐมนตรี และแบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ เราไม่ใช่ส่วนหนึ่งของพื้นที่กว้างใหญ่ทางตอนใต้ของประเทศเรา ซึ่งเสมือนว่าทุกอย่างจะถูกอัดฉีดด้วยสารสเตอรอยด์”
ผมไม่ควรจะเอ่ยถึงสเตอรอยด์ เพราะมันทำให้เพื่อนผมนึกภาพออกทันที
“โอ้ คุณมาจากประเทศที่มีเบน จอหน์สัน ใช่มั้ย ฮ่าๆ พวกคุณพลาดเหรียญทองไป ฮ่าๆๆ”
เป็นอันจบเกมจากบทเรียนทางการเมืองและภาคพื้นภูมิศาสตร์