ทะเลทราย อาทาคามา และดวงจันทร์และ NASA

moon landscape in chile

ภูมิทัศน์เหมือนดวงจันทร์ในประเทศชิลี

NASA, ดวงจันทร์และ ซาน เปโดร เดอ อาทาคามา

ตื่นเช้าวันถัดไปในซาน เปโดร เดอ อาทาคามา ช่างเป็นประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์ ผมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกินยาแก้แพ้ความกดอากาศ เราลงมาอยู่ที่ระดับ 2,200 เมตรในวันก่อน และมวลอากาศมีอ็อกซิเจนหนาแน่นมากพอที่สมองและร่างกายของผมจะไม่ต้องเหนื่อยล้าโรยรา ไม่มีอะไรที่ผมวางแผนไว้มากนักในสองวันข้างหน้านอกจากทริปช่วงบ่ายไปยังทะเลทรายอาทาคามาและเยี่ยมชมหุบเขาจันทราและหุบเขายมฑูต ผมเดินทางออกจากที่พักของผม ราวสองกิโลเมตรจากใจกลางเมืองไปยังจุดศูนย์กลาง ผมส่องเห็นร้านอาหารน่านั่งที่นั่นในบ่ายวันก่อนอยู่ถัดจากจตุรัสเมือง และตั้งใจอย่างเต็มที่ว่าจะไปรับประทานอาหารมื้อสายที่นั่น ผมจัดการชาร์จแบตได้ในที่สุดและตัดสินใจว่าจะถ่ายรูปและเขียนบันทึกอะไรบ้างเสียหน่อยก่อนที่จะไปทัวร์ในช่วงบ่าย

 

a quiet square in atacama

จัตุรัสที่เงียบสงบใน San Pedro de Atacama

ความแตกต่างระหว่าง “อยาก” กับ “ต้อง”

ผมใช้เวลาส่วนหนึ่งสำรวจถนนเส้นเล็กๆในพื้นที่รอบๆจตุรัสเมือง พื้นที่ซึ่งจัดให้เต็มที่แก่การท่องเที่ยวและผู้มาเยือน โรงแรมราคาประหยัด ร้านค้า ธนาคารสาขาย่อย และสิ่งอื่นๆที่จำเป็นสำหรับชีวิตนักท่องเที่ยว ผมได้ซิมมือถือใหม่ และหย่อนก้นลงนั่งบนเก้าอี้อันแสนสบายที่โต๊ะและสั่งอาหาร อาหารจริงๆจังๆ จากเมนูเป็นเล่ม จบมื้อด้วยกาแฟดีๆพร้อมนมแท้ๆอีกถ้วย เมื่ออาหารละลายในปากและกาแฟทำให้สภาพผมกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง ผมได้ตระหนักว่าหลายอย่างแค่ไหนที่เราได้มองข้ามคุณค่า และหลายสิ่งจริงๆคือความสุขที่เติมเต็มชีวิตให้หรูหรา ตลอดสี่วันอาหารดีงาม ยกเว้นมื้อเช้ามื้อหนึ่งที่ไม่แน่ใจนัก พวกเรารับประทานอาหารอย่างเต็มอิ่ม ไม่มีใครหิวโหยท้องกิ่ว หมายความเราไม่ต้องการอะไรอื่นมากไปกว่าที่เราบริโภคกันไปแล้ว แต่ก็นะผมยังสั่งอาหารจานพวกนั้นที่ถ้าผมคิดถึงมันในขณะที่อยู่ในทะเลทรายจะทำให้น้ำลายสอ ไม่มีจานไหนที่ผมสั่งที่จำเป็น มันก็แค่เติมเต็มความปรารถนา ทำให้รู้ว่าสิ่งที่อยาก กับสิ่งที่จำเป็นมันแตกต่างกันอย่างไร (แต่มันช่างเอร็ดอร่อยมากเหลือเกิน)

 

 

 

 

moon valley chile

แกะสลักโดยลมภูมิทัศน์ที่แห้งแล้งในประเทศชิลี

death valley atacama chile

หุบเขาแห่งความตาย Atacama ประเทศชิลี

เงาดวงจันทร์ … และภารกิจไปดาวอังคาร

ผมสนุกกับช่วงเวลานั้น และหลังจากนั้นก็เตรียมพร้อมกับการออกเดินทางทริปหุบเขา บนรถทัวร์ผมเจอสองสามคนที่เคยพบกันมาก่อนตอนทริปอูยูนิ เราได้สนทนากันตอนพวกเราเข้าใกล้หุบเขาจันทรา ที่ทางเข้าเราได้ข้อมูลแนะนำเบื้องต้น หลังจากนั้นเราเคลื่อนไปยังบริเวณจุดจอดรถห่างออกไปประมาณไม่กี่กิโลเมตรบนถนนจากทางเข้าที่จอด เวลาเข้าชมหุบเขาถูกจัดอย่างเป็นระเบียบสอดคล้องเพื่อให้แน่ใจว่านักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มได้มีเวลาถ่ายรูปและเซลฟีแต่ละจุดโดยที่ไม่มีผู้คนแน่นขนัดในฉากหลัง หุบเขาจันทรามีทัศนียภาพที่วิเศษงดงามด้วยเนินทรายที่ลดหลั่นเล่นระดับเป็นริ้วสูง ถ้ำ และทรายกับหินสกัด พวกเราเริ่มแรกท่องไปตามเส้นทางที่เข้าสู่หมู่เนินทราย ค่อยๆปีนขึ้นสู่ยอดจุดชมวิวบนยอดของหนึ่งในเทือกเขา มันเป็นภาพที่น่าดึงดูดและเราพอมีเวลาที่นั่งทอดสายตามองพื้นที่รอบๆตัวอย่างเงียบเชียบ หุบเขาจันทราเป็นหนึ่งในสถานที่แห้งแล้งที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก ซึ่งบางพื้นที่ไม่มีแม้แต่ฝนสักหยดมาเป็นเวลาหลายร้อยปี หุบเขาสืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศและพื้นดิน องค์กรนาซายังใช้เป็นพื้นที่ทดลองยานสำรวจสำหรับดาวอังคาร

 

 

vballey landscape in chileความกลัวของช่องว่างแคบ

จากที่นี่พวกเราเดินทางต่อไปยังหุบเขายมฑูต ทัศนียภาพแห้งผากและน่าสนใจ เราตามเส้นทางที่นำเราผ่านหินสกัดก่อนจะถึงทางเข้าอุโมงค์ เราถูกบอกว่าถ้ำจะแคบลงและมีบางคนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง รู้เป็นอย่างดีว่าการกลัวที่แคบเป็นอย่างไร ผมสงสัยอยู่เหมือนกัน แต่ก็ตัดสินใจไปต่อ หลังจากเดินแค่ในระยะสั้นๆ ผมตระหนักว่าผมเช่นกันที่น่าจะอยู่ข้างหลัง ผมเดินฝ่าฝูงชนสวนกลับไปยังด้านบริเวณทางเข้า แค่รู้สึกยินดีมากที่ทิ้งพื้นที่แคบไว้ข้างหลัง ผมสูดอากาศเข้าลึกๆและดีใจที่เติมปอดผมด้วยอากาศที่สะอาด ผมเดินไปตามเส้นทางระหว่างสองด้านกำแพงหิน ค้นหาว่ากลุ่มของพวกเราจะปรากฏร่างอีกครั้งที่ไหนและ เจอในที่สุดและเดินช้าๆอย่างสะกดกลั้นใจเข้าไปสมทบ

 

sunset over death valley chile

ชมพระอาทิตย์ตกที่หุบเขาแห่งความตายชิลี

เห็นได้ชัดว่าทางเลือกของผมคือความชาญฉลาดเพราะนักสำรวจถ้ำบางคนบอกผมว่า ณ จุดหนึ่งพวกเขาต้องคลานผ่านช่องที่ไม่กว้งกว่าหนึ่งฟุตและที่ความสูงเดียวกัน คิดไปถึงจุดนั้นผมแน่ใจว่าผมไม่สามารถมีทางจะทำมันได้ เราเดินทอดน่องกลับไปยังยานพาหนะของพวกเรา เข้าสู่จุดหมายสุดท้ายของบ่ายนี้ เพียงระยะห่างสั้นๆ ฝูงชนกลุ่มใหญ่ค่อยๆรวมตัวออกันที่ขอบฝา พระอาทิตย์ตกในทิศตรงข้าม ในขณะที่ด้านหลังของพวกเราภูเขาไฟลิแคนคาเบอร์ (the stratovolcano Licancabur) กับกรวยสูง 5,900 เมตรที่ค่อยๆเปลี่ยนสีอย่างช้าๆเป็นเฉดต่างๆจากฟ้าไปจนถึงม่วงตามการตกของดวงอาทิตย์ นอกจากกระแสลมและคนกลุ่มใหญ่ ทุกอย่างตกอยู่ภายใต้ความเงียบ ด้วยกับสถานที่อื่นๆที่น่าตรึงตราใจที่ซึ่งถ้อยคำไม่มีความหมายหรือไร้ความจำเป็น กลุ่มคนที่นี่เช่นกันนั่งชมพระอาทิตย์ตกดินอย่างเงียบๆและทิวทัศน์ที่สลับเฉดของหุบเขาจันทรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Posted in ท่องเที่ยว, ประเทศชิลี, อเมริกาใต้, เดินทาง, เรื่องราว and tagged , , , .

เคนอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีและได้เดินทางอย่างกว้างขวาง เขาสนุกกับการอ่านการเขียนการถ่ายภาพ, อาหาร, และการแบ่งปันเรื่องราว