อะไรนะ? 66 ตัวอักษร – ช่วยด้วย!

travel in kanchanaburi thailand

เดินทางไปทั่วชนบท – น้ำตกและถ้ำ

เออพวกเขาพูดว่าอะไรนะ?

ชายหาดช่างสวยงาม และการเรียนภาษาก็ดำเนินต่อไป จากสิงหาคมเข้าสู่เดือนกันยายน และเดือนกันยาก็ถึงเวลาสิ้นสุดของคอร์สเรียน พวกเราได้หยุดพักหนึ่งอาทิตย์ระหว่างสี่อาทิตย์ที่พักอยู่ที่หาดสวรรค์นั่น และสองอาทิตย์สุดท้ายของการฝึกภาษาในจังหวัดที่ใกล้กับกรุงเทพฯมากขึ้นที่ชื่อ นครปฐม ผมต้องยกความดีความชอบทั้งหมดให้แก่เหล่าครูผู้สอนที่มีความอดทนและฉลาดปราดเปรื่องดั่งโซโลมอนผู้รอบรู้ โดยมีผมเป็นบททดสอบของพวกเขา ผมแค่นิ่งเงียบไม่ตอบ และไม่มีส่วนร่วมใดๆทั้งสิ้น ผมมักจะนั่งเฉยๆแล้วก็ยิ้ม และหวังอย่างเงียบๆตลอดเวลาว่า เมื่อถูกตั้งคำถาม ครูจะถามคนอื่นแทน ไม่ว่าพวกเขาจะพยายามหนักแค่ไหน ก็ไม่สามารถทำให้ผมปริปากได้ นอกจากคำพื้นฐานง่ายๆคำสองคำที่พวกเราได้เรียนในวันแรกๆ และแน่นอนผมไม่เคยลืมคำว่า “ครับ” แต่ก็นะบางอย่างมันต้องซึมเข้าสมองผมแน่ๆ เพราะสามสิบปีให้หลังผมพูดภาษาไทยได้คล่องและสำเนียงแทบไม่ผิดเพี้ยนจากเจ้าของภาษา การเรียนสอนทักษะการอ่านให้ผมซึ่งช่วยได้มากตลอดหลายปีถัดมาเมื่อผมเริ่มหัดแปลเอกสารภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

 

 

thai alphabet chart

แผนภูมิตัวอักษรไทย

จะทำอย่างไรกับตัวอักษร 66 ตัวอักษร … ?

แต่ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนผมก็ยังไม่สามารถเขียนได้ดีนัก ใช่ถึงแม้ว่าผมจะเขียนตัวอักษรส่วนใหญ่ได้ แต่ผมก็ไม่รู้วิธีสะกดคำที่ถูกต้อง มันมีพยัญชนะถึงสี่สิบสี่ตัวและสระอีกยี่สิบสอง ตัวอักษรสามระดับ และเสียงสูงต่ำที่หลากหลายและการผสมอักขระเหล่านี้คือการให้ความหมายของคำ มีอักษรถึงห้าตัวอักษรซึ่งแตกต่างแต่อ่านออกเสียงเป็นเสียงตัวอักษร “ค” เหมือนกัน ตัวอักษรที่คล้ายกันของ “ต” “ส” และอีกหลายตัว “พ” เป็นต้น และในชีวิตของผมก็ไม่เคยจำได้ว่าตัวไหนเป็นตัวไหน และแต่ละตัวก็ใช้กับคำเฉพาะของแต่ละความหมาย ผมสามารถอ่านภาษาไทยได้เมื่อเป็นรูปประโยค แต่ก็ไม่เสมอไปว่าผมจะอ่านคำเดี่ยวๆได้ เช่นคำว่า “ข้าว” “ขาว” “ภูเขา” “พวกเขา” “เขา” ทุกอย่างดูคล้ายกันไปหมด แถมออกเสียงแทบไม่แตกต่างกัน และเพราะเช่นนั้นผมจึงไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ถ้าแค่เห็นเป็นคำๆ และยิ่งมีความยากของการสะกดคำโดยใช้อักษรตัวเดียวกันติดกันสองครั้ง เช่นตัว ร.เรือ ซึ่งอ่านออกเสียงว่า “อะ” หรือการผสมระหว่างตัว “ท” และ “ร” ซึ่งออกเสียง “ซ” การผสมคำโดยไม่มีพยางค์ทำเอาผมแทบทรุด การอ่านคำว่า “พลพล” เมื่อมันควรออกเสียงว่า “พะละพน” หรือ “สมอ” ที่ออกเสียงว่า “สะหมอ”

ผมดื้อดึงอยู่อย่างนั้นตลอดสี่อาทิตย์ แล้วผมก็แทบช็อคเมื่อนึกได้ว่าผมจะต้องเดินทางไปสหกรณ์หนึ่งอาทิตย์ ในช่วงเวลาพักระหว่างคอร์สเรียนที่หัวหินและนครปฐม และผมจะต้องหาทางสื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยตนเอง ไม่ว่าจะหารถในสถานีรถโดยทัวร์ ไปยังเมืองที่ไม่คุ้นเคย เท่านี้ก็ทำให้ผมวิตกมากพอที่จะหันมาสนใจการเรียนได้อย่างเต็มวัน ผมว่าวันสุดท้ายของการเรียนนั้นผมเรียนรู้มากกว่าตลอดหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้นเสียอีก ผมเรียนที่จะถามคำถามเช่นรถทัวร์ไปที่…คันไหนครับ” “สถานีรถทัวร์อยู่ที่ไหนครับ” และ ผมจะไปที่นั่นได้อย่างไรครับ “เท่าไหร่ครับ” และด้วยกลุ่มคำเหล่านั้นผมก็พร้อมแล้วที่จะมุ่งหน้าไปยังสถานีรถ

bus interior

ภายในรถบัส

นิทานรถโดยสาร

แน่นอนทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับรถโดยสารหรือเครื่องบินที่จะเล่า แต่ผมพนันได้ว่ามีน้อยมากที่จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับ “รถส้มอัดกระป๋อง” สีส้มนั้นหมายถึงสีของรถ ส่วนอัดกระป๋องนั้นหมายถึงความจริงที่ว่าเจ้าพวกรถปีศาจเหล่านั้นเกือบจะถูกอัดแบนไม่ต่างจากกระป๋องน้ำอัดลม  รถมี 72 ที่นั่ง และที่นั่งสำหรับคนท้องถิ่นเท่านั้น ทางเดียวที่ผมจะได้นั่งคือเบาะตอนท้ายของรถที่พอจะมีที่ให้เหยียดขาได้บ้าง หรือไม่ก็ต้องยืนแล้วยื่นหัวออกไปบนช่องที่เจาะไว้ระบายอากาศ ไม่มีทางที่ผมจะสามารถรวบสองขาพาดคอเพื่อพอจะนั่งที่นั่งเดียวได้ และยิ่งกว่าปาฏิหารย์ เพราะนอกจากเบาะ 72 ที่นั่งนั่นแล้ว เขายังสามารถที่จะจัดที่ยืนให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้อีกถึง 70 คน และพวกเราก็ยืนอัดกันเป็นปลากระป๋องอยู่บนรถ พุ่งะยานไปบนถนนแคบๆที่แทบจะไม่มีพื้นที่พอให้รถสองเลนสวนกันได้ ด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถเบี่ยงจากเลนซ้ายไปขวา แทบจะไม่จอดให้ผู้โดยสารลง หรือต้องเรียกว่ากระโดดลงมากกว่า หรือไม่ก็มีไอ้งั่งยืนโหนตัวเกาะอยู่ท้ายรถเพื่อบอกให้คนขับเร่งหรือลดความเร็วเมื่อผ่านรถคันอื่น และเมื่อสวนกับรถอีกคัน ไอ้งั่งคนเดิมก็จะยิ่งชะโงกตัวยื่นออกไปนอกรถ เพื่อให้รถอีกคันนั้นชะลอความเร็วให้รถของเราเบี่ยงกลับเข้าเลนได้ ก่อนที่จะเจอรถจากเลนที่กำลังวิ่งตรงมาพุ่งชนเอา ในบางครั้งรถขับตัดหน้ารถอีกคัน แต่ทันทีที่เขาแซงได้แล้วก็จะชะลอเข้าจอดในห้าสิบเมตรเพื่อรับผู้โดยสารขึ้นหรือปล่อยให้ลง

ผมว่าที่ผมยืนด้านซ้ายของรถช่วยให้ผมไม่สติแตกไปเสียก่อนเพราะผมไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ทันใดนั้นผมสังเกตเห็นรถอีกคันอยู่ถัดจากรถของเราทางด้านขวา และอีกคันตรงพุ่งเข้ามาจากอีกเลน ท่ามกลางเสียงแตรที่แผดสนั่น คนขับของรถทั้งสามคันต่างยิ้มสรวลอย่างเฮฮาและโบกมือให้กัน ในขณะที่ผู้โดยสารต่างสวดมนต์ภาวนาครั้งสุดท้าย ไอ้งั่งสามคนท้ายรถวุ่นง่วนอยู่กับการสังสรรค์ทักทายแลกเปลี่ยนข้อมูลการจราจร และแล้ววินาทีนั้นก็ผ่านไปโดยที่พวกเราไม่ถูกอัดเป็นกระป๋องน้ำอัดลม แต่ผมก็ดีใจที่ขวดแม่โขงรอผมอยู่ที่ปลายทาง ที่จริงผมค่อนข้างมั่นใจกับความสามารถทางภาษาไทยของผม เพราะผมมาถึงสหกรณ์ได้อย่างปลอดภัย ผมสามารถจัดการพาตัวเองไปยังท่ารถ หารถทัวร์ถูกคัน บอกจุดหมายปลายทางที่ผมจะลง ผมว่าผมทำได้ดีอย่างน่าภูมิใจทีเดียว ใช้เวลาอีกสามปีกว่าที่ผมจะพูดคล่องขึ้นระดับหนึ่ง และอีกสองปีกว่าที่เสียงเหน่อหมดไป และเริ่มเรียนรู้ศัพท์เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆมากพอ ที่จะสามารถร่วมสนทนาในประเด็นที่น่าสนใจได้มากขึ้น เช่นเรื่องการเมืองและศาสนา สิ่งที่ช่วยผมได้มากจริงๆคืออาสาสมัครอีกสองคนที่อยู่ร่วมบ้านพักหลังเดียวกับผมในช่วงปีแรกซึ่งพวกเขาอยู่เมืองไทยมาก่อนหน้าผมปีหรือสองปี และเมื่อบทสนทนาเริ่มหลงประเด็นและผมไม่สามารถตามทันได้ มจะหันไปถามพวกเขาว่า “เออ เมื่อกี้พวกเขาพูดว่าอะไรนะ”

Posted in ประเทศไทย, เรื่องราว.

เคนอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีและได้เดินทางอย่างกว้างขวาง เขาสนุกกับการอ่านการเขียนการถ่ายภาพ, อาหาร, และการแบ่งปันเรื่องราว

One Comment

Comments are closed.