โทรศัพท์มือถือ อนุสาวรีย์ดนตรี และรถลากสุนัข

a monument to Jean Sibelius, Finland's composer

Jean Sibelius, นักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฟินแลนด์ – งานศิลปะเพื่อรำลึกถึงดนตรีและนักแต่งเพลง

Nokia, อาร์กติกและกวางเรนเดียร์

หลายปีก่อนในช่วงเวลาว่างระหว่างการแสดงละคร ผมยังเป็นพิธีกรรายการทีวีโชว์ที่มีการเดินทางไปถ่ายทำในต่างประเทศ เช่นเดียวกับที่เราไปตุรกีในช่วงฤดูหนาว เราก็ไปฟินแลนด์ในช่วงนั้น เพราะทุกคนรู้ดี ซานต้าอาศัยอยู่ขั้วโลกเหนือในฟินแลนด์ มันเป็นช่วงต้น ค..1990 ที่พวกเราถูกครอบงำด้วยเพจเจอร์และการเริ่มต้นของนวัตกรรมที่โทรศัพท์มือถือเริ่มเข้าสู่ตลาดไทย – พวกเราไม่มีใครสามารถซื้อได้ โทรศัพท์เครื่องแรกสุดที่ผมจำได้กับแบ็ตเตอรีใหญ่บึ้มราคาถึง 3,000 เหรียญ และมันเป็นไซส์พกพาในความจุดที่ว่ามันขนาดเท่ากับกระเป๋าเดินทาง (ความคิดประดิษฐ์โทรศัพท์เคลื่อนที่กันครั้งแรกตั้งแต่ปีค.. 1917 และเครื่องที่ผลิตได้จริงเครื่องแรกในปีค.. 1973 นั้นหนักถึง 2 กิโล สิ่งเดียวที่แตกต่างระหว่างเครื่องแรกกับทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษคือมันเปลี่ยนเป็นใช้ระบบเซลล์) มีผลกระทบในการเริ่มต้นให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย สำหรับใครที่พยายามจะขอคู่สายโทรศัพท์บ้านหรือติดตั้งโทรศัพท์บ้านตามปกติในช่วงเวลานั้นต้องรอถึง 6 เดือนโดยประมาณ และผมก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่มันมีวิธีที่เร็วกว่านั้น ถ้าใครกระหายอยากจะได้มันโดยเร็ว จ่ายค่าพิธีการพิเศษเพิ่มอีก 1,000 เหรียญโทรศัพท์ก็จะติดตั้งได้ภายในเวลาไม่กี่วัน ตลกพอตัว เมื่อการสื่อสารแผ่ขยายไปทั่วเมืองโดยโทรศัพท์มือถือ มีเบอร์บ้านที่ถูกลืมและสูญหายถูกพบ และภายในหนึ่งปี เบอร์โทรศัทพ์บ้านกว่า 200,000เลขหมาย ถูกค้นเจอ และผมได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าด้วยเรทปกติราว 120 เหรียญ ผมจะสามารถได้คู่สายมาติดตั้งภายในหนึ่งอาทิตย์ ข้อเสนอนั้นช้าไปหนึ่งเดือนเพราะผมถอยโนเกียเครื่องใหม่มาแล้ว

office space in the 90s was visionary

25 ปีที่ผ่านมาประเภทของพื้นที่สำนักงานนี้มีวิสัยทัศน์; วันนี้เป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น

เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ

และเพราะโนเกียที่ทำให้พวกเราได้เดินทางไปฟินแลนด์เพื่อสัมผัสประสบการณ์เทคโนโลยีใหม่ๆที่น่าตื่นเต้น จอห์น นูโว นักร้องชื่อดังเป็นเอ็มซีของพวกเราในทริปนี้ และในตลอดหลายปีที่ผ่านมาจอห์นก็ยังผลิตรายการแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆสู่ผู้ชมชาวไทย สปอนเซอร์โดยสายการบินฟินแอร์ พวกเราได้รับการนัดเจอกันที่สนามบินโดยตัวแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศฟินแลนด์ หลังจากเริ่มต้นแนะนำฟินแลนด์ ประเทศแห่งวัฒนธรรมและการเดินภายใต้อากาศหนาวเย็นไปตามริมน้ำ เราตั้งหลักกันในตอนค่ำเพื่อเตรียมตัวสำหรับทริปแรกในเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อจะไปบริษัทโนเกีย ยุคปี1980 และ 1990 เป็นทศวรรษแรกที่เทคโนโลยีกำลังบูม และคอมพิวเตอร์และการสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็เป็นเรื่องบ้าคลั่งมาก การพัฒนาพวกนี้ได้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เน้นความลงตัวของงานและการใช้ชีวิต และความอยากจะสุขมากขึ้น มีสุขภาพดีขึ้น สถานที่ทำงานที่สะดวกสบายมากขึ้น เมื่อพวกเรามาถึงสำนักงานใหญ่ มันไม่ใช่แค่ตึกหน้าตาพื้นๆตามถนนไร้ป้ายชื่อ แต่กลับเป็นตึกสำนักงานที่ทันสมัยเลิศหรูสุดอลัง การตกแต่งที่รวมถึงออฟฟิศที่สะดวกสบายบริเวณที่นั่งที่แสนสบายพร้อมโซฟาและหมอนอิง และมุมกาแฟ มันอาจจะดูแปลกที่จะเล่าเรื่องเหล่านี้ในศตวรรษที่ 21 ที่ออฟฟิศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันก็เป็นแบบนี้ตามแนวกูเกิลแต่ในเสี้ยวศตวรรษก่อนหน้านั้นพวกเรายังคงรู้วิธีการทำอะไรด้วยดินสอและคาสเซตเทป – หลายต่อหลายสิ่งได้เปลี่ยนไป

การทัวร์สำนักงานรวมถึงการพรีเซ็นท์เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่บริษัทได้พัฒนา แผนกต่างๆที่ฝ่ายบุคคลเริ่มกระตุ้นให้มี (รวมถึงเดย์แคร์ในสำนักงาน) และแน่นอนการเยี่ยมชมมือถือเครื่องจริงที่กำลังเตรียมออกสู่ตลาด การพรีเซ็นท์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแก็ดเจ็ตตัวใหม่ที่ใช้มอนิเตอร์สุขภาพในรูปแบบของนาฬิกาข้อมือ (ใช้เวลาเกือบจะ 25 ปี ที่จะสามารถพัฒนาเจ้าอุปกรณ์สวมใส่พวกนี้ แต่ปัจจุบันมันกลับเป็นอุปกรณ์จำเป็นเฉกเช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ) เราถ่ายทำบทสัมภาษณ์และวีดีโอองค์ประกอบอื่นๆทั้งหมดที่เราต้องใช้ เรามีวัตถุดิบมากพอที่จะนำเสนอนวัตกรรมของเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการโทรศัพท์แก่ผู้ชมของเรา

dog sled in the arctic

John Nuvo กับรถเลื่อนสุนัขในภาคเหนือก่อนที่กวางเรนเดียร์มาถึง

อาร์กติกและรอวาเนียมี

ถึงเวลาที่พวกเราจะล่องขึ้นทางเหนือ ทิศเหนืออันห่างไกล และเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิภาคนี้สักนิด อาร์กติก มีพิพิธภัณฑ์ที่น่ามหัศจรรย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ที่เพิ่งเปิดให้เข้าชมตอนเราไปเยี่ยมฟินแลนด์ Arktikum เป็นศูนย์ศึกษาอาร์กติก ของมหาวิทยาลัยแห่งแลปแลนด์ (Lapland) และพิพิธภัณฑ์แห่งภูมิภาคแลปแลนด์ที่ตั้งอยู่ใน Rovaniemi การจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของภูมิภาคอาร์คติกรอบๆแลปแลนด์ ผู้คนที่อยู่อาศัยในภูมิภาคนี้ ศิลปะและวัฒนธรรมของพวกเขาเหล่านั้น ที่ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการถาวรหลายงาน แต่รวมถึงยังจัดแสดงข้อมูลใหม่ๆอย่างอื่นที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นตามอำนวย พวกเราโชคดีที่สามารถเยี่ยมชมที่นี่หลังจากเพิ่งเปิดได้ไม่นาน และภายในเวลาเพียงเสี้ยวศตวรรษจากนั้น หลากหลายพันผู้คนได้เรียนรู้ว่าภูมิภาคนี้มีความสำคัญต่อบรรยากาศโลกอย่างไร และการเปลี่ยนไปของสภาพบรรยากาศส่งผลกระทบต่อภูมิภาคและผู้คนที่นี่ ชนเผ่าซามิ (Sami) พวกเราได้รับการแนะนำเกี่ยวกับสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญคือเจ้ากวางเรนเดียร์ ชีวิตความเป็นอยู่ของหมีขาว และความงามจรัสของแสงเหนือ การขี่เลื่อนที่ถูกลากโดยเรนเดียร์ได้ตรียมพวกเราไว้สำหรับทริปถัดไป และพวกเราได้เรียนรู้ว่ามันเป็นไปได้ที่เพื่อนเจ้าเนื้อผู้ใจดีจะสามารถท่องไปทั่วในค่ำคืนแห่งความมหัศจรรย์และดีงามอวยพรให้ทุกคนโชคดีมีสุขเมื่อเลื่อนของเขาเร่งจากไปพร้อมเสียงหัวเราะโฮะๆๆก้องออกมาจากใจ เซนต์นิคคือจุดหมายต่อไปของพวกเราที่ขั้วโลกเหนือ

Posted in ประเทศฟีนแล็นด, ประเทศไทย, เดินทาง, เรื่องราว, โทรทัศน์ and tagged , , , .

เคนอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีและได้เดินทางอย่างกว้างขวาง เขาสนุกกับการอ่านการเขียนการถ่ายภาพ, อาหาร, และการแบ่งปันเรื่องราว