แผนไม่จำเป็นเสมอไป
1986
เมื่อช่วงสิ้นสุดปีที่สองของการเรียนคณะเกษตรศาสตร์ของผมมาถึง และผมก็คิดว่าผมจะทำอะไรหลังจบการศึกษา ผมเริ่มมองหางานทำ อาจจะเป็นงานที่ทำให้มีโอกาสได้เดินทางด้วย ผมเรียนจบวุฒิบัตรสาขาสื่อสารมวลชนมาสองปีก่อนหน้านี้ ผมสามารถหางานทำในสายงานนี้ เช่น เป็นผู้สื่อข่าว ผมสามารถค่อยๆไต่เต้าทำงานไปเรื่อยๆและหวังว่าวันหนึ่งจะกลายเป็นนักข่าวที่รีวิวข่าวการเมืองที่สำคัญๆได้ หรืออีกใจหนึ่งก็ทำงานทางด้านผู้สี่อข่าวสายเกษตร แต่มันก็ดูไม่น่าสนใจพอกัน ผมอยากเดินทางและเขียน ก่อนที่จะตั้งตัวทำอะไรที่มีสาระและแก่นสารกับชีวิตมากกว่านี้ เช่นงานที่จริงจัง ซื้อรถสักคัน มีบ้านสักหลัง และในที่สุด อาจจะมีกระท่อมใกล้ทะเลสาบในตอนเหนือของออนตาริโอ
สามสิบปีผ่านไป ผมสามารถก่อร้างสร้างตัวได้ทุกสิ่งตามฝัน ถึงจะไม่เป๊ะซะทีเดียว แต่ก็ใกล้เคียงกับที่ฝันตอนสมัยอายุ 22 ล่ะน่า จากกระท่อมใกล้ทะเลสาบกลายเป็นกระท่อมหลังเล็กๆในหุบเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย รถยนต์กลายเป็นรถกะบะมาตลอด แม้แต่บ้านก็กลายเป็นคอนโดในท้ายที่สุด มาดูซิว่าอีกสามสิบปีข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกบ้าง แน่นอนผมยังอยากมีกระท่อมในประเทศไหนสักแห่งที่สภาพอากาศเย็นกว่านี้ และที่สามารถไปตั้งแคมป์ พายเรือคานู และล่องเรือในฤดูร้อนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้
เมื่อโอกาสมาเยือน…
แล้วก็มาถึงการเรียนปีสุดท้ายของผม และผมก็ต้องเริ่มวางแผนต่างๆ ระหว่างเดินไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาด้านอาชีพ ผมสังเกตดูบนบอร์ดของมหาลัยมีตำแหน่งงานในต่างประเทศหลายตำแหน่งเปิดรับผู้ที่สนใจอยู่ เป็นงานอาสาสมัครขององค์กรชื่อ CUSO ซึ่งก็คือ องค์กรนักเรียนแคนาดาในต่างประเทศ สิ่งที่สะดุดตาผมที่สุดคือชื่อที่อ่านออกเสียงแปลกๆเฉพาะตัวของสถานที่เหล่านั้น กาน่า เบอนิน ฮอนดูรัส ไทย มาลิ วานัวตู ปาปัวนิวกินี ฟูจิ และอื่นๆอีกมาก มันเหมือนกับการเดินเข้าไปในสนามบินแล้วแหงนหน้ามองแผงกระดานดำผืนใหญ่ที่เต็มไปด้วยชื่อต่างๆที่สลับสับเปลี่ยนตลอดไม่ต่างกับป้ายรายชื่อที่สะกดชื่อแปลกๆของดินแดนอันไกลโพ้น นี่อาจจะเป็นอะไรที่ผมน่าจะเช็คดูเสียหน่อย … Read more...
อ่านต่อไป...