คืนแรกในกรุงเทพฯ

การขับรถเร็วละคืนหนึ่งในกรุงเทพฯ

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมทิ้งพวกคุณค้างไว้ที่สนามบินดอนเมือง และกระชากอารมณ์ความต่อเนื่องอย่างรุนแรงด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับคำถามของคนไทยและเรื่องราวเหล่านั้น จริงๆมันไม่มีอะไรมากนักที่จะเล่าเกี่ยวกับการเดินทางจากสนามบินเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร อาจมีบ้างเรื่องสองเรื่อง เช่นเมื่อเราเคลื่อนตัวขึ้นทางด่วนแห่งใหม่ที่น่าตื่นตา ถนนวิภาวดีรังสิตปรับเป็นทางด่วนยกระดับแล้วเสร็จในยุค ต้นทศวรรษ 80 แล้วเราก็ขับบนทางด่วนนั้นได้อย่างสบาย ประสบการณ์ครั้งแรกของผมบนถนนของเอเซีย และผมก็อยากมีประสบการณ์เช่นนั้นมากขึ้น คิดดูสิ เร่งความเร็วได้ตามใจอยาก ไม่มีสัญญาณไฟ ไม่มีตำรวจทางหลวงมาจับหรือแจกใบปรับคุณ และนี่กระมังทำไมกรุงเทพถึงมีรถติด ก็เพื่อจะบังคับไม่ให้ขับได้เร็วเกินอีกต่อไป

มันไม่ได้เป็นตามที่พวกเขาบอกว่ามันจะเป็น …

สามสิบชั่วโมงกว่าแล้วตั้งแต่ผมหลับครั้งสุดท้าย ดังนั้นการเดินทางทั้งหมดจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าการเห็นภาพต่างๆเคลื่อนผ่านอย่างเร็วขณะรถขับไปบนทางด่วน เราขับผ่านตึกรามบ้านช่อง ชุมชนแออัด วัดวาอารามที่สวยงามวิจิตรา และในที่สุดก็เข้าสู่ใจกลางเมือง ลงจากทางด่วนและขับต่อไปบนถนนปกติ ซึ่งทุกอย่างเคลื่อนที่ช้าลงเหมือนแทบจะคลาน กระดึ้บๆไปตามเส้นทาง การเคลื่อนตัวอย่างไม่ติดขัดจากสนามบินกลายเป็นเพียงความทรงจำ ระดับความเร็วลดลงเหลือเพียงสิบเอ็ดกิโลต่อชั่วโมง ตึกที่สูงที่สุดที่ผมสังเกตเห็นคือตึกใบหยกทาวเวอร์ 1 และตึกโรงแรมดุสิตธานีบนหัวมุมถนนสีลมตัดกับถนนพระรามสี่ยังเป็นหนึ่งในตึกที่สูงที่สุดในเมือง ไม่มีตึกสำนักงานใหญ่ๆ ไม่มีตึกระฟ้าใดๆ และแน่นอนมีห้างสรรพสินค้าเพียงไม่กี่แห่ง ทุกอย่างถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างมากและรวดเร็วในช่วงยุค ทศวรรษ 90 แต่นั่นก็เป็นเรื่องราวสำหรับวันอื่น จำได้ไหมที่ผมเกริ่นถึงช่วงที่ผมเข้ารับการอบรมที่ออตตาวาที่เราถูกป้อนข้อมูลเกี่ยวผ้าขาวม้าและโสร่ง ยังไงน่ะหรือ ตั้งแต่เราเคลื่อนตัวอย่างช้าๆจากถนนพระรามสี่เพื่อเลี้ยวเข้าถนนสาธร ผู้คนเดินกันขวักไขว่แต่ผมยังไม่เห็นใครใส่ชุดที่พวกเขาบอกผมตอนอบรมว่ามันเป็นชุดที่คนประเทศนี้สวมใส่กัน Read more...

อ่านต่อไป...

ปัญหาที่ต้องเผชิญกับการข้ามพรมแดนของประเทศ

คุณกำลังเข้ามาอย่างเป็นทางการ …

ตู้คอนเทนเนอร์สีแดงจ้าที่แปะหน้าตู้ว่า “ตรวจคนเข้าเมือง” ประตูปิดอยู่ บานหนึ่งแปะว่า “ทางเข้า” อีกบานเขียนว่า “ทางออก” แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ มันต้องไม่ใช่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอย่างเป็นทางการที่จัดการเรื่องวีซ่าเข้าประเทศแน่ๆ สิ่งที่ผมอ่านมาทั้งหมดเกี่ยวกับการขอวีซ่าเข้าประเทศนั้นเป็นระบบที่แปลกมาก เพราะจะต้องเดินทางต่อเข้าไปเมืองซาน อันโตนิโออีกหนึ่งกิโล เพื่อไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอย่างเป็นทางการ พิลึกมาก  ใครก็ตามที่อยากลักลอบเข้าประเทศแล้วหายตัวไปนั้นย่อมสามารถทำได้โดยง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลากับขั้นตอนที่ยุ่งยากของพิธีการตรวจคนเข้าเมือง อย่างไรก็ตามและขอบคุณพระเจ้า ที่เพื่อนผมจากโคลัมเบียมากับผมด้วย เราเดินทางไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอย่างเป็นทางการ แต่กลับกลายเป็นว่าที่นั่นไม่สามารถออกวีซ่าเข้าเมืองให้เราได้ เพราะไม่ใช่สำนักงานอย่างเป็นทางการอีกต่อไป แต่ตู้คอนเทนเนอร์แดงนั้นเป็นจุดสำแดงตนอย่างเป็นทางการ เราถกเถียงกันว่า ในเมื่อเรามาถึงสำนักงานซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นสำนักงานอย่างเป็นทางการแล้ว ทำไมพวกเขาไม่สามารถช่วยเราได้ในครั้งนี้เมื่อเห็นได้ชัดว่ามีเจ้าหน้าที่นั่งอยู่ที่นั่น  แต่ในทางปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจะช่วยอะไรพวกเราได้เพราะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประทับตราเอกสารวีซ่าอย่างเป็นทางการไม่ได้ประจำการที่นั่น ในที่สุดเราก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก นอกจากกลับไปต่อแถวที่ตู้คอนเทนเนอร์สีแดง โชคดีที่ที่นี่คือเวเนซูเอลา และโชคร้ายที่มันคือเวเนซูเอลา

ความไม่แน่นอน …

โชคดีที่แถวที่ยาวที่สุดคือชาวเวเนซูเอลาที่กำลังกลับบ้าน และพวกเขาก็ไม่ต้องมีประทับตราวีซ่า แน่นอนผมไม่จำเป็นต้องไปต่อแถวนี้เพราะผมต้องมีตราประทับ โชคร้ายที่ความวุ่นวายทางการเมืองสร้างปัญหากับสัญญาณอินเตอร์เน็ตบ่อยครั้ง และเมื่อผมเดินเข้าสู่ตู้คอนเทนเนอร์แดงนั้น มีแค่ทางเลือกเดียวคือต้องรอ ไม่มีการต่อแถวอย่างจริงจัง มีแค่สามคนที่นั่งรออยู่เหมือนกัน เพื่อนชาวโคลัมเบียของผมเริ่มคุยกับคนหนึ่ง ในขณะที่ผมเองก็เริ่มคุยกับสุภาพบุรุษอีกท่านหนึ่งซึ่งดูเหมือนจะมาจากประเทศทางแถบยุโรปประเทศใดประเทศหนึ่งถ้าฟังจากสำเนียง Read more...

อ่านต่อไป...

เตรียมพร้อมสำหรับคำถาม 20 ข้อ

ทะลึ่ง? 

ไม่เลย…

เมื่อหลายปีก่อน ราวสิบปีหรือกว่านั้น ผมเริ่มบันทึกงานเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยและประสบการณ์ของผมในประเทศนี้ การทดสอบในตอนนั้นถูกตั้งชื่อว่า ยี่สิบคำถาม แล้วผมก็นึกภาพตามว่าผมจะต้องพิมพ์รวมเล่มเมื่อเขียนได้ถึงยี่สิบตอนหรือกว่านั้น ชื่อหนังสือจะต้องเกี่ยวเนื่องกับอะไรที่หลายคนชอบถามผมตอนมาถึงเมืองไทยใหม่ๆในปี 1986 ตอนมาถึงใหม่ๆ ผมถูกเผาซะเกรียม ไม่มีคำถามใดที่ถือว่าล่วงล้ำหรือหยาบคายถ้าพวกเขาอยากจะรู้ สำหรับคนที่อยู่มานาน พวกเขารู้วิธีรับมือกับคำถามเหล่านั้น แต่สำหรับผมซึ่งเป็นมือใหม่ในขณะนั้นถือว่าหนักหนาสาหัสเอาการ ดังนั้นผมจึงหาวิธีจัดการกับมนุษย์เจ้าคำถาม ด้วยการรวบรวมคำถามยี่สิบข้อที่ถูกถามบ่อยไว้ในบทบันทึกของผมเสียเลย ดูจากบริบทนั้นแล้ว ผมต้องสารภาพหลายข้อก็ตกยุคไปเสียแล้ว ในขณะที่บางอย่างก็ยังใช้ได้อยู่หรือปรับเปลี่ยนไปบ้าง สิ่งที่คุณกำลังจะได้เริ่มต้นอ่านต่อไปนี้ เป็นบทที่ปรับแล้วจากเวอร์ชั่นดั้งเดิมในยุคนั้น

ล้อเลียนที่ไม่เป็นภัย

แต่ก่อนที่ผมจะเริ่มเขียนเรื่องเหล่านั้นและสังเกตการณ์ บางทีผมควรให้ไอเดียคร่าวๆกับคุณก่อนว่าการแสดงความเห็นแบบไหนที่ผมต้องเจอ และคำถามประเภทไหนที่คนไทยชอบถามบ่อยๆ (และแม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังถูกถามอยู่ดี ตามที่เพื่อนผมเล่าให้ฟัง) การถูกทักแบบไทยๆด้วยคำถามหรือการตั้งข้อสังเกต คุณดูอ้วนขึ้นนะ หรือ ทรงผมใหม่ไม่เหมาะกับหน้าคุณเลย นั่นปกติมากที่จะคาดว่าคนฟังจะไม่มีปฎิกิริยาอะไรตามมา ไม่มีการแจ้งหมิ่นประมาทหรือถูกด่ากลับ มันเป็นวิถีปกติของวัฒนธรรมไทย เพื่อนสนิทของผมคนหนึ่งเขียนถึงผม เมื่อใดที่ทั้งสองฝ่ายเป็นอันเข้าใจมุกตลกร้าย ความตลกที่ไม่ได้เป็นพิษเป็นภัย และเย้ยหยันยิ่งกว่านั้นคือ Read more...

อ่านต่อไป...

ความเชื่อมั่นที่เป็นศูนย์ในเวเนซุเอลา

ทบทวน ‘ตัวเลขศูนย์‘ ของอารยธรรมโบราณ

เมื่อไม่นานมานี้ผมอ่านเรื่องสั้นเกี่ยวกับอารยธรมชนเผ่ามายาของทวีปอเมริกาใต้ และวิวัฒนาการการใช้ตัวเลขที่เรียกว่า ‘explicit zero’หรือการมีตัวเลขศูนย์ครั้งแรกในโลก เชื่อผมเหอะ ถ้าใครเป็นนักคณิตศาสตร์ย่อมถกเถียงประเด็นนี้ได้เป็นชั่วโมงๆว่าทำไมมันถึงสำคัญนัก แต่เรื่องสั้นที่ผมได้อ่านนั้น กลับพาผมย้อนเวลานึกไปถึงความทรงจำของการเดินทางในบ่ายแก่ๆจรดเย็นเที่ยวชมเมืองคูคูตากับเจ้าบ้านของผม คูคูตามีถนนชื่อว่าอเวนิดาซีโรหรือถนนสายหมายเลขศูนย์ ซึ่งเป็นถนนที่อาจบอกได้ว่าเป็นถนนที่แบ่งเขตฝั่งตะวันออกและตะวันตกของเมือง และซึ่งจะปิดถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมงในวันเฉพาะกิจ ในช่วงเย็น เช่นเดียวกับการปิดถนนในโบโกตาช่วงวันอาทิตย์

โอกาสท่องเที่ยวมากมาย

คูคูตาถูกนำมาเขียนถึงในหลายต่อหลายเรื่อง และมักจะเกี่ยวเนื่องกับชายแดนเวเนซูเอลา ที่เป็นที่รู้จักกันดีกับประวัติการลักลอบนำเข้าที่เกิดขึ้นมากกว่าเรื่องอื่นใด แต่จริงๆเมืองที่วุ่นวายนี้มีอะไรมากมายที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว แผนการเดินทางของผมคือพักที่เมืองนี้หนึ่งวัน แล้วค่อยข้ามแดนไปเวเนซูเอลา แผนสบายๆอะไรเทือกนั้น

ผมมาถึงตอนเย็นของวันที่ 30 สิงหาคม หวังจะใช้เวลาหนึ่งวันในคูคูตา แล้วก็ข้ามไปเวเนซูเอลาในวันที่ 1กันยายน แต่โชคไม่ดีที่สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นมีการเดินประท้วงเกิดขึ้นในคาราคัสในวันที่ 1 พอดี ผมโต้แย้งกับเจ้าบ้านที่ผมไปพักด้วยและเพื่อนๆของผมที่อีกฝั่งชายแดน และการโต้เถียงไม่ให้ผมเดินทางต่อก็เริ่มจะฟังดูมีเหตุผล “ถ้าเกิดชายแดนถูกปิดล่ะ” ถ้าเช่นนั้นผมก็ไม่สามารถข้ามไปได้ นั่นหมายถึงผมต้องรีบเดินทางต่อทันทีตั้งแต่วันที่ 31แต่แล้วการโต้เถียงก็แย้งขึ้น “แล้วถ้าชายแดนถูกปิด คุณก็กลับออกมาไม่ได้นะ” และนั่นก็ทำให้ผมหยุดกึก ไม่ว่าผมอยากจะท่องเที่ยวเวเนRead more...

อ่านต่อไป...

เดินทางถึงสนามบินนานาชาติดอนเมืองกรุงเทพฯ

มันร้อน และเปียก และเหนียว …

สำหรับใครที่อายุมากพอคงจำได้ เคยมีสายการบินประจำชาติของเบลเยี่ยมชื่อซาเบนา ซึ่งอยู่ในธุรกิจมานานและเป็นหนึงในเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการปรับรูปลักษณ์ให้ทันสมัยขึ้น การแข่งขันที่ดุเดือด และหลายต่อหลายปัจจัย จนซาเบนาต้องปิดตัวลงในที่สุด แต่การเดินทางด้วยสายการบินนี้ในปี 1986 มันช่างยอดเยี่ยมและแปลกใหม่ยิ่งนัก จากโทรอนโตเราบินไปสนามบินแห่งชาติบรัสเซลส์ และเมื่อมองไปที่กระดานประกาศเส้นทางการบินเหล่านั้น อาบิดจั ไนโรบี บามาโค แอลเจียร์ คาซาบลังกา ชื่อเมืองหรูๆของบางประเทศในยุโรป ไหนจะยังเมืองต่างๆอีกจำนวนมากในเอเชีย รวมถึงเส้นทางชื่อแปลกๆที่น่าพิศวงเหล่านั้น คุณต้องอย่าลืมว่านี่คือผมเมื่ออายุเพียง 22 เดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือมายังอีกฝากฝั่งทวีปอันห่างไกลและไม่เป็นที่รู้จักนัก ใช่ ผมเคยเดินทางมาก่อน แต่นั่นก็แค่ท่องเที่ยวในทวีปยุโรปและประเทศแคนาดา คราวนี้จึงเป็นประสบการณ์เอี่ยมอ่องถอดด้ามที่แปลกใหม่ของผม ถามใครก็ได้ถึงความรู้สึกเมื่ออยู่ในสนามบินเมื่อพวกเขาเดินทางต่างประเทศครั้งแรก มันมีบางอย่างที่ช่างงดงามและน่าลุ่มหลงเสียยิ่งกระไร และไม่ว่าใครจะบอกคุณว่าเกลียดสนามบิน แต่เมื่อใดก็ตามที่เราได้เดินทางต่างประเทศ เราก็ยังรู้สึกตื่นเต้นเบิกตาโพลงเหมือนได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้งกับการผจญภัยบนเส้นทางใหม่

ความรู้สึกของการผจญภัย …

ในขณะที่ผมกวาดตามองกระดานเส้นทางบินที่พลิกเปลี่ยนชื่อจุดหมายตลอดเวลานั้น ผมก็ได้เห็นชื่อ “กรุงเทพ” ในที่สุด ที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสุดท้ายของการเดินทางในครั้งนี้ ผมจะต้องใช้เวลาอีกสิบสี่ชั่วโมงกว่าจะถึงจุดหมาย และเครื่องบินก็เป็นเครื่องที่เก่าแต่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีRead more...

อ่านต่อไป...